.


Free เมาส์น่ารัก

.









































วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ลิ้นจี่

         

ลิ้นจี่ ผลไม้อร่อย ประโยชน์มากมาย

ลิ้นจี่ มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีน ลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกสีแดงเข้ม ผิวขรุขระไม่เรียบ เนื้อสีขาวฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว นิยมรับประทานผลสด ทำผลไม้กระป๋อง ดอง มีน้ำตาลสูง หากเราผ่านไปทางภาคตะวันออก จะเห็นว่าทางภาคนี้จะปลูกผลไม้แทบทุกชนิด เพราะอากาศดี ดินอุดมสมบูรณ์และมีลิ้นจี่ปลูกมากในภาคนี้ สารอาหารที่ได้จากลิ้นจี่คือแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินฯลฯ

ชื่ออื่น ลีจี (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ lichi chinensis sonn.

วงศ์ sapndaceae
ลักษณะทั่วไป ลิ้นจี่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 11-12 เมตร แตกกิ่งก้าน บริเวณยอดกลม
ใบ เป็นใบประกอบคล้ายขนนก ใบหนา รูปใบรี ขอบใบขนาน ลักษณะคล้ายหอก ปลายใบแหลม ใบดกหนาทึบ ผิวใบมัน
ดอก ออกดอกเป็นช่อๆ มีดอกย่อยขนาดเล็ก
ผล มีรูปร่างกลมรี ผิวผลขรุขระสากมือ หรือมีหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีแดงและแดงคล้ำตามลำดับ เนื้อในสีขาว มีรสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดมีสีน้ำตาลแดงแข็ง หนึ่งผลมีเพียง 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ เมล็ด เนื้อผล
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกชนิดหนึ่ง
เมล็ด นำมาบดให้เป็นผงละเอียดเป็นยาสมานระงับความเจ็บปวดในกระเพาะอาหาร
เนื้อในผล รับประทานเป็นยาบำรุง และรักษาอาการท้องเดิน
คุณค่าทางอาหาร
ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีความหอมอยู่มากเพียงแค่ได้กลิ่นก็หอมสดชื่น ลิ้นจี่ส่วนมากมักนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น แล้วแช่เย็นไว้ดื่มเพื่อกระหาย รสชาติอร่อยชื่นฉ่ำใจ

ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน และน้ำตาล มีน้ำมันหอมระเหย และมีกรดอินทรีย์บางชนิด วิตามินบี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีนช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วยในระบบย่อยอาหาร ส่วนที่เป็นเมล็ดยังสามารถทำเป็นยาระบายความเจ็บปวดในกระเพาะอาหารได้ด้วย
คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
พลังงาน 57 แคลอรี่
โปรตีน 0.9 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
เส้นใยอาหาร 0.1 กรัม
เหล็ก 1.3 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 13.1 กรัม
แคลเซียม 7 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม
วิตามีนบี 1 0.11 มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2 0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซีน 0.3 มิลลิกรัม
ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น