.


Free เมาส์น่ารัก

.









































วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มะนาว

มะนาวสรรพคุณ และ ประโยชน์ของมะนาว

มะนาวอีกหนึ่งพืชผักสมุนไพรไทยที่ไม่ได้มีแค่ประโยชน์ของมะนาวเท่านั้นแต่ยังมีอีกด้วย และวันนี้เราก็มาพูเรื่อง ประโยชน์ของมะนาว และ สรรพคุณของมะนาว เพื่อขยายความถึงความดีของสมุนไพรไทยชนิดนี้ให้ได้ฟังกันมากขึ้น ประโยชน์ของมะนาว นั้นเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ของคุณพ่อบ้านแม่บ้านกันอีกเช่นเคย โดยเฉพาะเมนูต้มยำกุ้งเรียกได้ว่าขาดมะนาวเสียไม่ได้เลยหรือจะเป็นเมนูอาหารจำพวกยำๆ ถ้าขาดมะนาวไปเมนูอาหารมื้อนี้คงไม่อร่อยเป็นแน่ค่ะ นอกจากนี้ สรรพคุณของมะนาว ก็ยังสามารถช่วยในการรักษาโรคต่าง ๆ ได้ดีอีกด้วยนั้นเรามาดู ประโยชน์ของมะนาว และ สรรพคุณของมะนาว กันเลยค่ะ



ประโยชน์ของมะนาว


สรรพคุณ / ประโยชน์ของมะนาว


ลักษณะทั่วไปของมะนาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กทรงพุ่ม ตัวใบรูปร่างกลมรี ขอบใบหยักเล็กน้อย ปลายและโคนใบมน ดอกเล็กสีขาวอมเหลือง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลกลมเปลือกบางเรียบ มีน้ำชุ่มมาก รสเปรี้ยว เปลือกผลมีน้ำมัน กลิ่นหอม รสขม สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี ควรปลูกในฤดูฝนช่วงที่ปลูกใหม่ ๆ ต้องรดน้ำทุกวันและไม่ควรโดนแดดมาก

โดยมีความเชื่อตามตำราพรหมชาติฉบับหลวงกล่าวไว้ว่า มะนาวเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน กำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านจะได้มีความสุขสวัสดี

มะนาว เป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมาลิค วิตามินซี ซึ่งได้จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหยจากผิวมะนาวมีวิตามินเอและซี รวมทั้งมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาว มีสรรพคุณทางยาคือ เปลือกผล มีรสขม ช่วยขับลม รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด


วิธีทำยา


นำเอาเปลือกของผลสดประมาณครึ่งผล คลึงหรือทุบเล็กน้อยพอให้น้ำมันออก ชงน้ำร้อนดื่มเวลามีอาการ

ส่วนน้ำมะนาว รักษาอาการไอและขับเสมหะ โดยใช้ผลสดคั้นน้ำจะได้น้ำมะนาวเข้มข้นใส่เกลือเล็กน้อยจิบบ่อย ๆ หรือจะทำเป็นน้ำมะนาวใส่เกลือและน้ำตาล ปรุงให้รสเข้มข้นพอควรดื่มบ่อย ๆ หรือนำน้ำมะนาวผสมดินสอพองใช้ทาบริเวณหัวโนจะทำให้เย็นและยุบลงเร็ว

สรรพคุณและประโยชน์ของน้ำมะนาวซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการเป็นที่รู้จักกันดีคือ มีวิตามินซีสูงมาก รักษาโรคเลือดออกตามไรฟันได้ดี นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ด้านความงามโดยเอาเปลือกที่บีบเอาน้ำออกแล้วนำมาทาบริเวณข้อศอก คาง เข่า ฝ่าเท้า ส้นเท้า จะช่วยให้ส่วนเหล่านั้นนุ่มนวลได้อย่างดี

สำหรับใบหน้าสามารถแก้สิวฝ้าได้ ในกรณีที่สิวไม่มีการอักเสบติดเชื้อเป็นหนองซึ่งมะนาวจะช่วยรักษาสิวให้ลดน้อยลงได้ เพราะน้ำมะนาวมีสภาวะเป็นกรดอ่อน ๆ จะทำให้เนื้อเยื่อที่ตายแล้วหลุดออกไปทำให้ลดการอุดตันของรูขุมขนช่วยกำจัดเชื้อโรคและไขมันได้ด้วย การใช้แป้งดินสอพองกับน้ำมะนาวทาบริเวณที่เป็นสิวก่อนนอนทุกวัน สิวจะค่อย ๆ ยุบหายไปในที่สุดส่งผลให้ใบหน้าสวยใส

มะนาวจึงถือเป็นสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณทางยามากมาย ดังนั้นอย่าลืมหาซื้อมะนาวหรือปลูกเองติดบ้านไว้ใช้ประโยชน์เพื่อสุขภาพและความงามนอกเหนือจากไว้ปรุงรสอาหารนะคะ

มะขาม

สรรพคุณของมะขาม    [ 2008-08-11 10:19:35 ] เก็บเป็นรายการโปรด
กลุ่ม : สุขภาพ

ชื่ออื่น ๆ : ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), หมากแกง (ฉาน-แม่ฮ่องสอน), มะขาม, มะขามไทย (ภาคกลาง), ตะลูบ (นครศรีธรรมราช), อำเปียล (สุรินทร์),  มะขามกะดาน, มะขามขี้แมว

ชื่อสามัญ : Tamarind

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica Linn.

วงศ์ : CAESALPINIACEAE

ลักษณะทั่วไป : ต้น : เป็นพรรณไม้ยืนต้น ขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น และแข็งแรงมาก ลำต้นมีความสูงประมาณ 60 ฟุต เปลือกมีสีน้ำตาลอ่อน และแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็ก ๆ

ใบ : เป็นไม้ใบรวม จะออกใบเป็นคู่ ๆ เรียงกันตามก้านใบ ก้านหนึ่งมีใบอยู่ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะของใบย่อย เป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มีสีเขียวแก่

ดอก : ดอกออกเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก ดอกจะเล็กมีกลีบเป็นสีเหลือง และมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก ดอกจะออกในช่วงฤดูฝน ดอกมีรสเปรี้ยว

ผล : เมื่อดอกร่วงแล้วก็จะติดผล ซึ่งผลนี้จะมีอยู่ 2 ชนิดคือชนิดฝักกลมเล็กยาว ซึ่งเรียกว่ามะขามขี้แมว และอีกชนิดหนึ่งฝักใหญ่แบน และโค้ง มีรสเปรี้ยว เรียกว่ามะขามกะดานเปลือกนอกเปราะเป็นสีเทาอมน้ำตาล ข้างในผลมีเนื้อเยื่อแรก ๆ เป็นสีเหลืองอ่อน และจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเมื่อแก่จัด ซึ่งจะหุ้มเมล็ดอยู่ ลักษณะของเมล็ดเป็นรูปค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยง เป็นสีดำ หรือสีน้ำตาลเข้ม

การขยายพันธุ์ : เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกสภาพ มีการขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือการตอนกิ่ง

ส่วนที่ใช้ : เนื้อไม้ ใบแก่ ใบอ่อนและดอก เนื้อในผล เมล็ดแก่

สรรพคุณ : เนื้อไม้ ใช้ทำเป็นเขียง ที่มีคุณภาพดีมาก เพราะเป็นไม้ทีเหนียวทนใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ แก้โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ หรือนำมาต้มผสมกับหัวหอมโกรกศีรษะเด็กในเวลาเช้ามืด แก้หวัดจมูกได้ หรือใช้น้ำที่ต้มให้สตรีหลังคลอดอาบ และใช้อบไอน้ำได้เป็นต้น

       * ใบอ่อนและดอก ใช้รับประทานเป็นอาหารได้
       * เนื้อในผล (มะขามเปียก) ใช้ผลแก่ประมาณ 10-20 ฝัก นำมาจิ้มเกลือกิน แล้วดื่มน้ำตามลงไป หรืออาจใช้ทำเป็นน้ำมะขามคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบาย แก้ไอ ขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย ลดการกระหายน้ำ หรือใช้เนื้อมะขามผสมกับข่า และเกลือพอประมาณ รับประทานเป็นยาขับเลือดขับลม แก้สันนิบาตหน้าเพลิง หรืออาจใช้ผสมกับปูนแดง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อน หรือฝี
       * เมล็ดแก่ นำมาคั่วให้เกรียมแล้วกระเทาะเปลือกออกใช้ประมาณ 20-30 เม็ด นำมาแช่น้ำเกลือจนอ่อนใช้กินเป็นยาถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็กได้ หรือใช้เปลือกนอกที่กระเทาะออก ซึ่งจะมีรสฝาดใช้กินเป็นยาแก้ท้องร่วง และแก้อาเจียนได้ดี

อื่น ๆ : เมล็ดมะขาม ใช้เพาะอย่างถั่วงอกใช้นำมาทำเป็นแกงส้มกิน เป็นอาหารได้ และในประเทศอินเดียนิยมใช้เมล็ดในนำมาป่นให้ละเอียดแล้วต้มกับผ้าเพื่อให้ผ้าแข็ง เหมือนกับลงแป้ง

ลิ้นจี่

         

ลิ้นจี่ ผลไม้อร่อย ประโยชน์มากมาย

ลิ้นจี่ มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีน ลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกสีแดงเข้ม ผิวขรุขระไม่เรียบ เนื้อสีขาวฉ่ำน้ำ รสหวานอมเปรี้ยว นิยมรับประทานผลสด ทำผลไม้กระป๋อง ดอง มีน้ำตาลสูง หากเราผ่านไปทางภาคตะวันออก จะเห็นว่าทางภาคนี้จะปลูกผลไม้แทบทุกชนิด เพราะอากาศดี ดินอุดมสมบูรณ์และมีลิ้นจี่ปลูกมากในภาคนี้ สารอาหารที่ได้จากลิ้นจี่คือแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินฯลฯ

ชื่ออื่น ลีจี (จีน)

ชื่อวิทยาศาสตร์ lichi chinensis sonn.

วงศ์ sapndaceae
ลักษณะทั่วไป ลิ้นจี่เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางมีความสูงประมาณ 11-12 เมตร แตกกิ่งก้าน บริเวณยอดกลม
ใบ เป็นใบประกอบคล้ายขนนก ใบหนา รูปใบรี ขอบใบขนาน ลักษณะคล้ายหอก ปลายใบแหลม ใบดกหนาทึบ ผิวใบมัน
ดอก ออกดอกเป็นช่อๆ มีดอกย่อยขนาดเล็ก
ผล มีรูปร่างกลมรี ผิวผลขรุขระสากมือ หรือมีหนามเล็กๆ ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีแดงและแดงคล้ำตามลำดับ เนื้อในสีขาว มีรสหวานอมเปรี้ยว เมล็ดมีสีน้ำตาลแดงแข็ง หนึ่งผลมีเพียง 1 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ เมล็ด เนื้อผล
สรรพคุณทางยาสมุนไพร
ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่นำมาใช้เป็นยารักษาโรคได้อีกชนิดหนึ่ง
เมล็ด นำมาบดให้เป็นผงละเอียดเป็นยาสมานระงับความเจ็บปวดในกระเพาะอาหาร
เนื้อในผล รับประทานเป็นยาบำรุง และรักษาอาการท้องเดิน
คุณค่าทางอาหาร
ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่มีรสหวานอมเปรี้ยว มีความหอมอยู่มากเพียงแค่ได้กลิ่นก็หอมสดชื่น ลิ้นจี่ส่วนมากมักนำมาทำเป็นน้ำผลไม้ปั่น แล้วแช่เย็นไว้ดื่มเพื่อกระหาย รสชาติอร่อยชื่นฉ่ำใจ

ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วย วิตามิน และน้ำตาล มีน้ำมันหอมระเหย และมีกรดอินทรีย์บางชนิด วิตามินบี 1 ในลิ้นจี่ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา วิตามินบี 2 ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโตป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด แคลเซียมเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังมีไนอะซีนช่วยเปลี่ยนน้ำตาลและไขมันให้เป็นพลังงาน ช่วยในระบบย่อยอาหาร ส่วนที่เป็นเมล็ดยังสามารถทำเป็นยาระบายความเจ็บปวดในกระเพาะอาหารได้ด้วย
คุณค่าทางโภชนาการและอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัม
พลังงาน 57 แคลอรี่
โปรตีน 0.9 กรัม
ไขมัน 0.1 กรัม
เส้นใยอาหาร 0.1 กรัม
เหล็ก 1.3 มิลลิกรัม
คาร์โบไฮเดรต 13.1 กรัม
แคลเซียม 7 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 41 มิลลิกรัม
วิตามีนบี 1 0.11 มิลลิกรัม
วิตามีนบี 2 0.04 มิลลิกรัม
ไนอะซีน 0.3 มิลลิกรัม
ที่มา : หนังสือ คัมภีร์แพทย์สมุนไพร ผลไม้สมุนไพรและพืชผักสวนครัว

ข้าวโพด

ข้าว โพด เป็นพืชล้มลุก ลำต้นตรงกลมต่อกันเป็นปล้อง สูงประมาณ 1-2 เมตร ใบเลี้ยงเดี่ยวเรียวยาวก้านใบหุ้มลำต้น ออกดอกบริเวณกาบใบ เมื่อโตขึ้นจะเป็นฝักข้าวโพด ข้าวโพดที่นิยมรับประทานกันมากที่สุดคือข้าวโพดหวาน เพราะมีรสชาติหวานอร่อย และข้าวโพดหวานต้องรู้จักระยะเวลาที่เหมาะสมในการเก็บ ข้าวโพดอ่อนจะมีสรชาติหวานแต่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการมากพอ ส่วนข้าวโพดที่แก่จัดเกินไปจะเปลี่ยนเป็นแป้ง หรือคาร์โบไฮเดรด ที่ให้พลังงานและแคลอรีสูง
น้ำข้าวโพด
ส่วนผสม
1. ข้าวโพดหวาน 5 ฝัก
2. น้ำต้มใบเตย 7 ถ้วยตวง (ใช้ใบเตยล้างหั่นประมาณ 5 ใบ)
3. เกลือป่น 1 ช้อนชา
4. น้ำเชื่อม ครึ่งช้อนชา
วิธีทำ
1. ลอกเปลือกข้าวโพดออกล้างให้สะอาด ฝานเมล็ดข้าวโพดบาง ๆ (ส่วนเปลือกข้าวโพดนำไปต้มน้ำให้หอม)
2. ใส่ข้าวโพดลงในโถปั่น เติมน้ำต้มใบเตยพอควร เปิดสวิชท์ปั่นจนละเอียดดีแล้วกรองผ่านกระชอน (ควรนำส่วนเนื้อข้าวโพดที่กรองได้มาปั่นครั้งที่ 2 พร้อมน้ำใบเตย หรืออาจใช้น้ำข้าวโพดที่ปั่นไว้ก่อน)
3. นำน้ำข้าวโพดทั้งหมด ใส่หม้อสเตนเลสตั้งไฟ เติมเกลือ น้ำเชื่อมลงไป ควรคนด้วยพายไม้เพื่อไม่ให้ไหม้ ต้มพอสุกข้น ยกลงพักไว้ (ระวังอย่าให้ร้อนถึงจุดเดือด เพราะจะสุกเกินไปเกิดการแยกตัว)
4. เสิร์ฟร้อนหรือเย็นตามชอบ
เทคนิคการทำ
1. ควรใช้ข้าวโพดใหม่ สด จะได้นมข้าวโพดที่หอมอร่อย
2. ควรปั่นข้าวโพด 2 ครั้ง เพื่อให้ได้น้ำเข้มข้น
3. ควรต้มนมข้าวโพดให้สุกข้นจึงหอมอร่อย
4. ควรระวังอย่าให้นมข้าวโพดเดือดนานเกินไปจะแยกตัว
ประโยชน์ที่ร่างกายจะได้รับ
คุณค่าทางอาหาร :
1. เมล็ดข้าวโพดมีแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัสสูง โปรตีน แป้ง วิตามินเอ
2. ฝักอ่อน ใช้ผัดเป็นอาหาร
3. ฝักข้าวโพด ใช้ต้ม ย่างรับประทาน ทำซุปข้าวโพด ทำแป้งข้าวโพด
คุณค่าทางยา :
1. ฝอยข้าวโพดสีน้ำตาล ใช้ทำน้ำมันระเหย มีสารที่เป็นอัลคาลอยด์ที่ระเหยได้
2. ฝอยข้าวโพดใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
3. ซังข้าวโพด ใช้ปรุงเป็นยารักษาตานขโมยในเด็ก
เป็นไงคะ เห็นสรรพคุณกันแล้ว ไปหาซื้อข้าวโพด ลองทำน้ำข้าวโพดทานกันดูนะคะ ทำมาแล้วอร่อยค่ะสูตรนี้นอกเหนือจากข้าวอันเป็นอาหารหลักที่เรารับประทานกันอยู่ทุกวันแล้ว ทุกคนคงเคยลิ้มลองรสชาติอันหวานมันของข้าวโพดซึ่งเป็นพืชที่นำประโยชน์มาใช้ได้แทบทุกส่วน ซึ่งเฉพาะเมล็ดนั้นวิธีการรับประทานก็สารพันจะสรรหากันแล้ว ไม่ว่าจะนำมาต้ม ปิ้ง คลุกเนย ทอด หรือการใช้ประโยชน์จากการนำมาแปรรูป เช่น แป้งข้าวโพด นม เหล้า เบียร์ วิสกี้ น้ำตาลผง สบู่ น้ำยาทำความสะอาด เครื่องสำอางค์ น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำสลัด เนยเทียมและมายองเนส เป็นต้น

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ข้าวโพดเป็นธัญพืชที่นิยมนำมาแปรรูปเป็นอาหารนานาชนิดก็เนื่องจากเป็นพืชที่ให้พลังงานสูง เพราะมีคาร์โบไฮเดรตเป็นส่วนประกอบหลัก แถมยังมีโปรตีน ไขมัน เกลือแร่ และวิตามินที่มีประโยชน์อีกมากมาย เช่นวิตามินซี เอในรูปเบต้าแคโรทีน อีซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ ลูเทียน และซีแซนทิน ซึ่งเป็นสารคาโรตีนอย ช่วยป้องกันตาเสื่อมสภาพ

ส่วนประโยชน์ด้านอื่นๆ คงหนีไม่พ้นสรรพคุณทางยา ที่คนโบราณค้นพบและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่นเมล็ดของมันใช้ทานเพื่อบำรุงร่างกาย หัวใจ ปอดขับปัสสาวะ และนำมาบดพอกรักษาแผล นอกเหนือจากนี้ยังใช้ซังข้าวโพดต้มนำน้ำมาดื่มแก้บิด ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ต้น ราก และไหมข้าวโพด รสจืดหวาน ต้มเอาน้ำดื่ม ขับปัสสาวะได้ด้วย

สารอาหารในเมล็ดข้าวโพด 100 กรัมนั้น ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรต 8.2 กรัม โปรตีน 11.1 กรัม เกลือแร่ 1.7 กรัม ไขมัน 4.9 กรัม และเส้นไยหยาบอีก 2.1 กรัม แนะซักนิด สำหรับผู้ที่ชอบการรับประทานข้าวโพดเป็นชีวิตจิตใจว่า หากจะรับประทานข้าวโพดเมื่อใดก็ควรล้างน้ำเปล่าให้สะอาดเสียก่อน หากซื้อจากร้านค้าก็ควรเลือกชนิดที่ไม่ฟอกหรือขัดมากจนเกินไป เพราะจะเสียคุณค่าทางอาหาร และอาจมีสารขัดสีตกค้างเป็นของแถม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์แปรรูปต่างๆ ที่ควรเลือกแต่สินค้าที่ได้มาตรฐานและได้รับการรับรองแล้วเท่านั้น

เห็นกันแล้วว่าการรับประทานข้าวโพดเพียงชนิดเดียวก็ได้รับประโยชน์อันมหาศาล ดังนั้นถ้าบ้านใครมีพื้นที่ว่างพอที่จะปลูกได้ล่ะก็อย่ารีรอกันอยู่เลย เพราะวิธีการปลูกนั้นง่ายนิดเดียว เพียงหยอดเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดลงในหลุมดินร่วนที่ขุดไว้ 3-5 เมล็ด เมื่อต้นกล้างอกให้ถอนออกเหลือหลุมละ 1 ต้น เท่านี้ก็จะได้ข้าวโพดที่เป็นได้ทั้งอาหารและยาไว้รับประทานกันในบ้านโดยไม่ต้องกังวลกับเรื่องสารพิษตกค้างอีกด้วย

มังคุด

มังคุด

มังคุด

Mangosteen

source: วิกิพีเดีย, สโมสรสุขภาพ, www.simple.mrsjan.com
ณ. ปัจจุบัน เปลือกมังคุดก็สามารถนำมารับประทานได้ โดยนำมาปั่นทำเป็นน้ำผลไม้ และมีสารอาหารกว่า 100 ชนิด และสีม่วงแดงของเปลือกมังคุด มีสาร แซนโทน (xanthones) สารซานโทส มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดจากมังคุดมีคุณสมบัติในการส่งเสริมสุขภาพหลากหลายอย่างด้วยกัน
ผลมีเปลือกนอกค่อนข้างแข็ง มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 เซนติเมตร เนื้อในมีสีขาวฉ่ำน้ำ เส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 เซนติเมตร อาจมีเมล็ดอยู่ในเนื้อผลได้ ขึ้นอยู่กับขนาดและอายุของผล จำนวนกลีบของเนื้อจะเท่ากับจำนวนกลีบดอกที่อยู่ด้านล่างของเปลือก
ผลมังคุดมีรสชาติหวานอมเปรี้ยวเหมือนสตรอว์เบอรี่ที่ยังไม่สุกหรือส้มที่มีรสหวาน บางท่านรับประทานเมล็ดด้วย
ประโยชน์ของสารสารแซนโทนจากเปลือกมังคุด
1. ลดอาการอักเสบ และรักษาแผลพุพองต่างๆ
โดยธรรมชาติแล้วสารซานโทเนสในมังคุดสามารถต่อต้านและยับยั้งการการ สังเคราะห์สารพลอสตาแกลนดินอีทู (PGE2) ตลอดจนรักษาอาการอักเสบของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้น มังคุดจึงช่วยบรรเทาอาการอักเสบเรื้อรังต่างๆ อาทิเช่น โรคเบาหวาน, โรคมะเร็ง, โรคไขข้ออักเสบ, โรคอัลไซเมอร์หรือความจำเสื่อม, โรคหัวใจ และโรคร้ายอื่นๆ อีกมากมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. ป้องกันโรคหัวใจ
โรคหัวใจและโรคทางเดินหัวใจต่างๆ เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดที่มาหล่อเลี้ยงหัวใจ สารจากมังคุดจะช่วยส่งเสริมความแข็งแรงให้กับหลอดเลือดตลอดจนยับยั้งการก่อ ตัวของจุลลินทรีย์ที่เป็นพิษ อีกทั้งยังส่งเสริมการสร้างออกซิเจนในหลอดเลือด ดังนั้นเมื่อหลอดเลือดมีสุขภาพดีและแข็งแรงความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจก็จะ ลดลงตามไปด้วย

3. ลดความดันโลหิต (antihypertensive) และลดระดับคอเรสเตอรอล
ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับเส้นโลหิต ต่างๆ คอเรสเตอรอลและสารพิษต่างๆ ที่อุดตันทางเดินโลหิตส่งผลให้ทางเดินโลหิตแคบลงเป็นเหตุให้ความดันโลหิตสูง ขึ้น ซึ่งจะไปเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดหัวใจวายและอัมพาตหรือโรคปัจจุบันตามมา สารสกัดจากมังคุดได้มีการพิสูจน์แล้วว่าช่วยขยายตัวของหลอดเลือด (vasorelaxing activities) และป้องกันการสะสมตัวของตะกอนไขมัน ทำให้ลดระดับคอเรสเตอรอลอีกด้วย

4. บำรุงสภาพภายในกระเพาะอาหาร
ผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อคนเราแก่วัยก็คือการเสื่อมสภาพของกรดในกระเพาะ อาหาร ซึ่งจะส่งผลให้แบคทีเรียในกระเพาะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและเป็นสาเหตุให้เกิด อาการท้องร่วง เสียดท้อง เกิดแก๊สในกระเพาะ และการดูดซึมอาหารบกพร่อง สารแซนโทเนสในมังคุดจะไปช่วยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย และฟื้นฟูความสมดุลภายในกระเพาะอาหาร

5. ช่วยให้ทางเดินปัสสาวะมีสภาวะที่ดีขึ้น
การกลั้นปัสสาวะของเพศหญิงเป็นสาเหตุให้เกิดการเสื่อมสภาพของกล้ามเนื้อ บริเวณเชิงกรานและการเสื่อมสภาพนี้เองที่จะไปลดความสามารถในการขับปัสสาวะ ออกจากกระเพาะปัสสาวะ สำหรับเพศชายเมื่อมีอายุมากขึ้นต่อมลูกหมากก็จะขยายใหญ่ขึ้นซึ่งจะส่งผลให้ ท่อปัสสาวะมีขนาดแคบลงและเป็นสาเหตุให้มีปัสสาวะขังอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ ในสภาพนี้เองที่ทั้งเพศชายและหญิงมีโอกาสสูงในการติดเชื้อเนื่องมาจากแบ็คที เรียในกระเพาะปัสสาวะไม่ได้มีการกำจัดออกไป สารแซนโทเนสได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถขับทั้งแบ็คทีเรียธรรมชาติตลอดจน สารตกค้างที่เกิดจากการรับประทานยาปฏิชีวนะออกจากร่างกายได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

6. เพิ่มพูนสติปัญญา
การขาดอ็อกซิเจนในสมองเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดโรคสติปัญญาเสื่อม อัลไซเมอร์ พาร์กินสัน และโรคเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนกลาง สารสกัดจากมังคุดซึ่งเป็นสารแอนตี้อ็อกซิแดนท์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการ ป้องกันการเสื่อมถอยทางสติปัญญา ตลอดจนช่วยเพิ่มไหวพริบปฏิภาณ จะช่วยขจัดความเสื่อมทางปัญญาเหล่านี้ออกไป

7. ต่อต้านและป้องกันโรคมะเร็ง
ได้มีการวิจัยเกี่ยวกับมังคุดอย่างไม่หยุดหย่อนถึงความเป็นไปได้ที่จะ ใช้สารสกัดจากมังคุดในการป้องกันโรคมะเร็ง จากผลการวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากมังคุดจะช่วยยับยั้งการเจริญเติบ โตของเซลล์มะเร็งในเม็ดเลือด และยังสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตอันรวดเร็วของมะเร็งเต้านม มะเร็งในตับ มะเร็งในกระเพาะอาหาร ตลอดจนมะเร็งในปอดได้

8. ต่อต้านและป้องกันโรคภูมิแพ้ (allergies)
ได้มีการค้นพบสรรพคุณของมังคุดในการยับยั้งการหลั่งสารฮิสตามีน (histamine) ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการป้องกันโรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด เป็นยาแก้แพ้และยาแก้อักเสบจากธรรมชาติ และที่ยิ่งไปกว่านั้นคือ น้ำมังคุดรับประทานง่าย เอร็ดอร่อย ตลอดจนไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง อย่างเช่น อาการง่วงซึม เหมือนดังยาแก้แพ้ทั่วไป

9. ต่อต้านและป้องกันการติดเชื้อรา, แบคทีเรียบางชนิด, เชื้อไวรัส
นักวิทยาศาสตร์ได้เปิดเผยถึงการค้นพบการแก้ไขปัญหาการแพร่เชื้อของเชื้อ แบคทีเรียเช่น เชื้อวัณโรค (Mycobacterium tuberculosis), เชื้อ S. Enteritidis , เชื้อ HIV และสามารถในการช่วยขจัดกลิ่นปากอันไม่พึงประสงค์ออกไป โดยใช้สารสกัดจากมังคุด ดังนั้นมังคุดจึงได้ชื่อว่าราชินีแห่งการต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์

10. เพิ่มพลังงานและสร้างความกระปรี้กระเปร่าต่อต้าน ป้องกันโรคซึมเศร้า
หนึ่งในคุณสมบัติที่สำคัญของมังคุดก็คือความสามารถในการกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกให้กระปรี้กระเปร่า เพิ่มพลังงานและสร้างความกระปรี้กระเปร่าให้แก่ร่างกายได้อย่างปลอดภัยจริง อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอีกด้วย และยังให้กรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ซึ่งกรดตัวนี้มีผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนควบคุมการนอนหลับ อารมณ์และความอยากอาหาร ดังนั้นการบริโภคอาหารเสริมจากมังคุดอย่างต่อเนื่องจะช่วนส่งเสริมให้มี สุขภาพจิตที่ดี และอารมณ์ดีอยู่เสมอ

11. บำรุงผิวพรรณ
ความผิดปกติทางผิวพรรณ เช่น แผลเปื่อยพุพอง อาการอักเสบที่ผิวหนัง สิว โรคเรื้อน ผดผื่นต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปสามารถรักษาได้โดยใช้สเตียรอยด์หรือยาฆ่าเชื้อต่างๆ สามารถรักษาได้โดยการใช้มังคุดทาลงไปตรงส่วนที่มีปัญหา ซึ่งมังคุดได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาปัญหาผิวพรรณเหล่านี้โดยวิธี ธรรมชาติอย่างได้ผลโดยปราศจากการใช้สารเคมีอันตรายและไม่มีผลข้างเคียงใดๆ มังคุดประกอบด้วยสารคาเทชินซึ่งพิสูจน์แล้วว่าสามารถต่อต้านสารอนุมูลอิสระ อันจะเป็นอันตรายต่อชั้นผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าวิตามินซีและ วิตามินอี เพียงใช้เป็นประจำทุกวันคุณจะเห็นผลอันน่าทึ่งของผลิตภัณฑ์นี้

12. รักษาอาการปากแตกหรือปากเป็นแผล
มังคุดสามารถรักษาอาการปากแตกหรือปากเป็นแผลได้ภายในเวลาแค่ 24 ชั่วโมง พลังในการสมานแผลตลอดจนการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์สามารถแสดงผลได้อย่างรวดเร็ว และทันที จะช่วยให้ปากและเหงือกมีสุขภาพแข็งแรง

13. ช่วยป้องกันโรคนิ่วในไต
นิ่วในไตส่วนมากแล้วจะเกิดขึ้นในเพศชายมากกว่าเพศหญิง มังคุดมีสรรพคุณในการขับปัสสาวะซึ่งจะช่วยในการป้องกันโรคนิ่วในไตได้ ดังจะสังเกตได้จากการที่ผู้ชายดื่มน้ำมังคุดมากกว่า 3 ออนซ์ขึ้นไป พวกเขาจะขับปัสสาวะบ่อยกว่าปกติภายใน 24 ชั่วโมง แรก

14. ช่วยชะลอการร่วงโรยแห่งวัย (aging)
มังคุดคือผลไม้มหัศจรรย์ที่ช่วยป้องกันและต่อต้านการร่วงโรยแห่งวัยนา นับประการทั้งในด้าน ความเสื่อมโทรมทางสติปัญญา การย่อยอาหาร ไขข้อ กระดูก กล้ามเนื้อ และตา

15. ช่วยในการย่อยอาหาร
เปลือกของมังคุดประกอบด้วยไฟเบอร์จำนวนมากซึ่งไฟเบอร์นี่เองที่มีส่วย ช่วยในการผลักดันของเสียออกจากร่างกายผ่านทางลำไส้อย่างรวดเร็วและช่วย ป้องกันอาการท้องผูกและความเป็นไปได้ในการเกิดมะเร็งในลำไส้ไฟเบอร์จะไปช่วย ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลโดยการกำจัดน้ำดีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายทิ้งไป

มะยม

ในบรรดาต้นไม้ที่มีความผูกพันจนทำให้ประทับใจมาตั้งแต่เด็ก สำหรับผู้เขียนนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายชนิด บางชนิดเป็น ความรู้สึกเฉพาะตัว แต่บางชนิดก็เป็นความรู้สึกร่วมกันกับผู้คนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน ในบริเวณที่มีสภาพแวดล้อมและวัฒนธรรมเดียวกัน เช่น เป็นเด็กในชนบทภาคกลาง เมื่อกว่า ๔๐ ปีก่อนโน้น เด็กสมัยนั้นใกล้ชิดกับธรรมชาติและต้นไม้มากกว่าเด็กสมัยนี้หลายเท่า ต้นไม้บางชนิดเข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตเด็กๆมากเป็นพิเศษ ทั้งด้านที่ชอบและไม่ชอบ รวมทั้งเกี่ยวข้องกับผู้ใหญ่ทั้งในชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษ ตัวอย่างหนึ่งของต้นไม้ ชนิดพิเศษดังกล่าวนี้ก็คือ มะยม
มะยม : พืชพันธุ์ดั้งเดิมถิ่นแหลมทองมะยมเป็นพืชยืนต้นขนาดกลางมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phyllanthus acidus (Linn.) Skeels. อยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae ชื่อภาษาอังกฤษคือ star gooseberry ลำต้นสูงประมาณ ๔ ถึง ๗ เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกเป็นปุ่มปมอันเกิดจากแผลเป็นของก้านใบที่ร่วงหล่นไปแล้ว ใบเรียงสลับกันอยู่บริเวณปลายกิ่ง ใบเป็นประเภทขนนก คือมีใบย่อยเรียงอยู่ ๒ ด้านของก้านใบรวมขนาดใหญ่ ยาวประมาณ ๓๐ เซนติเมตร ใบย่อยเป็นรูปไข่เบี้ยว ปลายใบแหลม ก้นใบค่อนข้างกลม ด้านบนใบสีเขียวอ่อน ด้านล่างสีขาวนวลอมเขียว ดอกออกเป็นช่อตามลำต้นและกิ่งก้านที่ไม่มีใบ เป็นดอกไม่สมบูรณ์เพศ ดอกตัวผู้มีมากกว่าดอกตัวเมีย บางครั้งมีเฉพาะดอกตัวผู้ทั้งต้น จึงไม่ติดผลเลย เรียกกันว่า มะยมตัวผู้

กลีบดอกขนาดเล็กสีชมพู เมื่อติดผลมักอยู่รวมเป็นพวง ผลค่อนข้างกลม ก้นแบน จุกด้านบนบริเวณก้านผลบุ๋มลงไป ด้านข้างผลมีลักษณะเป็นพูมนๆ ๖ ถึง ๘ พู ผิวของผลดิบจะมีสีเขียวอ่อนบาง มีน้ำในผลมากเช่นเดียวกับตะลิงปลิงและมะเฟือง ผลสุกผิวจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองน้ำตาลอ่อน เนื้ออ่อนนุ่มและไม่ฉ่ำน้ำมากเหมือนตอนดิบ เมล็ดในผลมีลักษณะเป็นพูๆ เช่นเดียวกับผล มีสีน้ำตาล ผลละหนึ่งเมล็ด หากสังเกตชื่อวิทยาศาสตร์ของมะยม จะพบว่าชื่อชนิดคือ acidus หมายถึง กรด คงมาจากลักษณะผลฉ่ำน้ำของมะยมนั่นเอง เพราะมะยมดิบมีน้ำมาก น้ำมะยมนั้นมีกรดอยู่มากจึงมีรสเปรี้ยวจัด เป็นลักษณะเด่นของมะยม ปกติมะยมจะมีรสเปรี้ยว แต่มะยมบางต้นผลจะมีรสจืด เพราะมีกรดน้อย เรียกกันว่ามะยมหวาน ความจริงไม่มีรสหวานเลย น่าจะเรียกว่ามะยมจืดมากกว่า เชื่อว่าถิ่นกำเนิดดั้งเดิมของมะยมอยู่ในบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่คนไทยเคยเรียกว่าถิ่นแหลมทองนี้เอง จึงนับว่ามะยมเป็นพืชคู่บ้านคู่เมืองของคนไทยมาตั้งแต่เดิม คนไทยจึงมีความผูกพันกับมะยมมาเนิ่นนานและลึกซึ้งในหลายๆด้าน

มะยมในฐานะผักและอาหารคนไทยใช้ยอดอ่อนและใบอ่อนของมะยมเป็นผัก เช่น ผักจิ้ม หรือที่นิยมมากคือเป็นเหมือดกินกับขนมจีน หากสังเกตการจัดวางเส้นขนมจีนในชนบทภาคกลาง จะเห็นใบมะยมวางรองเส้นขนมจีนเป็นชั้นๆ นอกจากนี้ยังใช้ทำลาบและยำบางตำรับอีกด้วย ผลดิบของมะยมใช้ทำส้มตำได้ เรียกว่าตำมะยม ดูเหมือนคนไทยจะรู้จักมะยมในฐานะผลไม้มากกว่าผัก เพราะผลมะยมนำมากินได้หลากหลายรูปแบบ แม้แต่นำมาจิ้มเกลือกินเล่นก็ได้รสชาติจัดจ้าน ทำให้หูตาสว่างหายง่วงได้ดี หากไม่ชอบเปรี้ยวจัดก็ใช้ผลมะยมสุกที่นำผลดิบมาตากแดดให้เหี่ยวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนแล้วกินแทน ผลมะยมดองก็เป็นของว่างยอดนิยมอย่างหนึ่งในบรรดาผลไม้เมืองไทย ดังจะเห็นปรากฏอยู่ตามรถเข็นทั่วไปในกรุงเทพฯ และเมืองใหญ่ๆ สำหรับผู้ที่ไม่ชอบรสเปรี้ยว ก็อาจเลือกทำแยมหรือเชื่อม เป็นการถนอมอาหารอย่างง่ายที่ทำได้ทุกครัวเรือน และขายเป็นรายได้เสริมของครอบครัวและชุมชนก็ดี สำหรับผู้ชอบดื่มน้ำผลไม้ น้ำมะยมที่เตรียมจากผลมะยมดิบ นับว่าเป็นน้ำผลไม้ที่มีรสชาติดีเป็นที่นิยมในระดับแนวหน้าเลยทีเดียว

จากน้ำผลไม้พัฒนาไปสู่กระบวนการหมัก เพื่อให้ได้เครื่องดื่มประเภทไวน์ที่มีแอลกอฮอล์ระดับต่ำ ไวน์มะยมก็เป็นไวน์จากผลไม้พื้นบ้านอีกชนิดหนึ่งที่มีชื่อเสียงมานานในเมืองไทย เพราะหาวัตถุดิบได้ง่าย รสชาติดี สีสวย และคุณค่าทางด้านสุขภาพคงไม่ด้อยกว่าไวน์นำเข้าราคาแพงจากต่างประเทศแต่อย่างใด น่าเสียดายที่การพัฒนาไวน์น้ำผลไม้ของไทยถูกจำกัดด้วยกฎหมายผูกขาด และริดรอนสิทธิของประชาชนในการผลิตเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ทั้งประเภทไม่กลั่น(เช่น ไวน์ สาโทกระแช่ อุ ฯลฯ) และประเภทกลั่น (เหล้าพื้นบ้านจากข้าว ข้าวโพด ฯลฯ) ทำให้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมาในแต่ละท้องถิ่นหยุดชะงัก ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ทั้งประเทศพัฒนาแล้ว กำลังพัฒนา หรือสังคมนิยม ต่างก็ไม่มีกฎหมายจำกัดสิทธิประชาชนดังกล่าว ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่ให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง มีแนวโน้มว่าการจำกัดสิทธิประชาชนด้านต่างๆจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขในไม่ช้า เมื่อถึงตอนนั้นมะยมอาจจะกลายเป็นเครื่องดื่มส่งออกไปทั่วโลกก็ได้

ประโยชน์ด้านอื่นๆ ของมะยม
มะยมมีสรรพคุณทางสมุนไพรหลายประการ ดังปรากฏในตำราสรรพคุณสมุนไพรไทย ดังนี้

ราก : แก้โรคผิวหนัง ประดง เม็ดผื่นคัน ขับน้ำเหลืองให้แห้ง

ใบ :
ปรุงเป็นยาเขียว ใช้ดับพิษไข้ หรือใช้ต้มน้ำอาบแก้พิษคัน พิษไข้หัดดำแดง สุกใส ฝีดาษ

มะยมเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคล เพราะคำว่า มะยม ใกล้กับคำว่า นิยม จึงถือว่ามะยมเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่ง ในตำราพรหมชาติกำหนดให้ปลูกต้นมะยมไว้ในบริเวณ บ้านด้านทิศตะวันตก ร่วมกับมะขาม และพุทรา

ในด้านไสยศาสตร์ คนไทยแต่ก่อนมีวิธีการเลี้ยงผีไว้เป็นบริวาร หรือใช้งาน เช่น ขุนแผน มีโหงพรายและกุมารทอง เป็นต้น สำหรับคนทั่วไปนิยมเลี้ยงรัก-ยม โดยนำไม้จากต้นมะยมและต้นรัก (ที่ให้ยางสีดำใช้ลงรัก) มาแกะเป็นรูปเด็กชายตัวเล็กๆ แล้วแช่ไว้ในน้ำมันจันทน์ ใส่ขวดติดตัวไปในที่ต่างๆ เชื่อกันว่ารัก-ยมจะช่วยคุ้มกันอันตรายและนำความสำเร็จด้านต่างๆมาให้

นอกจากคนไทยจะเชื่อว่ามะยมเป็นพืชมงคล มีผลทางด้านโชคลาภ เมตตามหานิยมแล้ว ยังเชื่อว่าช่วยป้องกันและขจัดสิ่งชั่วร้ายได้ด้วย จึงนำมาใช้ในพิธีปัดรังควาน และใช้สำหรับพระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์แทนหญ้าคา โดยนิยมใช้ใบมะยม(ทั้งก้าน) ๗ ใบ มัดรวมกัน เมื่อกล่าวถึงใบมะยม ก็ต้องพูดถึงก้านใบมะยมที่เอาใบออกหมดแล้ว เรียกสั้นๆว่าก้านมะยม ก้านมะยมจะมีความยาวราว ๑ ฟุต โคนก้านโตกว่าด้านปลายที่เรียวแหลม ก้านมะยมมีความเหนียวเพราะมีแกนเป็นเนื้อไม้ แต่ยืดหยุ่นได้ดีเพราะหุ้มด้วยเปลือกสดสีเขียว ผิวเรียบ มีปุ่มปมเล็กน้อย เป็นรอยแผลของใบที่เด็ดออกไป ก้านมะยมนับเป็นเครื่องมือที่ผู้ปกครองใช้ลงโทษเด็กและแพร่หลายที่สุดเมื่อ ๔๐ ปีก่อนโน้น เนื่องจากหาง่าย ไม่ทำให้เด็กฟกช้ำ จึงอาจกล่าวได้ว่า ก้านมะยมได้ช่วยสร้างอนาคตให้กับเด็กไทยในอดีตอย่างมากมาย(รวมทั้งผู้เขียนด้วย) น่าที่จะช่วยกันปลูกต้นมะยมไว้ในบ้านเพื่อตอบแทนคุณความดี หรือเป็นกตเวทีคุณแก่ต้นมะยม นอกเหนือไปจากเพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ ที่กล่าวมาแล้ว

ลำไย

ผลไม้ลำไยสรรพคุณ และ ประโยชน์ของลำไย

ลำไย หรือก็คือ ผลไม้ลำไย นั่นเองค่ะ และคนส่วนใหญ่ก็ชอบที่นำลำไยมารับประทานกันค่อนข้างมากเลยทีเดียว และวันนี้เราก็นำ สรรพคุณของลำไยและประโยชน์ของลำไยมาฝากคุณ ๆ กันด้วยนะค่ะ แน่นอนว่านอกจากลำไยจะเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมแล้ว ประโยชน์ของลำไย ยังมีมากมายบางก็นำมาทำเป็นน้ำลำไยบ้างล่ะ ลำไยกระป๋องบ้างล่ะ ลำไยอบแห้งบ้างล่ะ และนอกจาก ประโยชน์ของลำไย แล้วเราก็ยังมี สรรพคุณของลำไย ที่จัดว่าเป็นสมุนไพรได้อีกด้วยเพราะช่วยรักษาโรคต่างๆ ได้ค่ะ นั้นเรามาดูสรรพคุณของลำไยและประโยชน์ของลำไยกันเลยดีกว่าค่ะ




สรรพคุณ และ ประโยชน์ของลำไย


สรรพคุณ / ประโยชน์ของลำไย



ใบ : เป็นใบสด มีรสจืดและชุ่ม สุขุม เป็นยาแก้โรคมาลาเรีย ริดสีดวงทวาร ฝีหัวขาดและแก้ไข้หวัด โดยนำเอาต้มน้ำกิน

ดอก : ใช้ดอกสดหรือตากแห้งเก็บไว้ใช้ เป็นยาแก้โรคเกี่ยวกับหนองทั้งหลาย โดยใช้ใบสดประมาณ 5-30 กรัมต้มน้ำกิน

เมล็ด : ต้มหรือบดเป็นผงกินจะมีรสฝาด ใช้ภายนอกจะรักษากลากเกลื้อน แผลมีหนอง แก้ปวด สมานแผล ใช้ห้ามเลือด

รากหรือเปลือกราก : ต้มน้ำกินหรือเคี้ยวให้ข้นผสมกิน มีรสฝาด แก้สตรีตกขาวมากผิดปกติ ขับพยาธิเส้นด้าย

เปลือกผล : ใช้ที่แห้งนำมาต้มน้ำกิน แก้อาการวิงเวียนศีรษะและอ่อนเพลีย ทำให้สดชื่น จะมีรสชุ่มหรือใช้ทาภายนอกโดยเผาเป็นเถ้าหรือบดเป็นผงโรยแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

เนื้อหุ้มเมล็ด : นำมาต้มน้ำกินหรือแช่เหล้าเป็นยาบำรุงม้ามเลือดลมและหัวใจ บำรุงร่างกาย สงบประสาท แก้อ่อนเพลียจากการทำงานหนัก ลืมง่าย นอนไม่หลับ ประสาทอ่อนหรือจะบดเป็นผงผสมกับยาเม็ดกินก็ได้


Tips


1. โรคมาลาเรีย ใช้ใบสดกับปอขี้ตุ่นแห้ง 10-20 กรัมและน้ำ 2 แก้วผสมเหล้าอีก 1 แก้วต้มให้เหลือน้ำเพียง 1 แก้วกินก่อนมีอาการไข้ 2 ชั่วโมง
2. แผลเน่าเปื่อยและคัน ใช้เมล็ดเผาเป็นเถ้าแล้วทาตรงบริเวณที่เป็น
3. ปัสสาวะขัด ใช้เมล็ดมาทุบให้แตกแล้วต้มน้ำกิน แต่จะต้องลอกเอาเปลือกสีดำ ของเมล็ดออกก่อน
4. กลากเกลื้อน ใช้เมล็ดชุบน้ำส้มสายชูที่หมักจากข้าวถูทาตรงที่เป็น แต่ต้องลอกเอา เปลือกสีดำออกก่อน
5. แผลเรื้อรังและมีหนอง ใช้เมล็ดเผาเป็นเถ้า ผสมกับน้ำมันมะพร้าวทา
6. หกล้มเลือดออกหรือมีดบาด ใช้เมล็ดบดเป็นผงพอก ห้ามเลือดและจะช่วยแก้ปวด ด้วย แต่ต้องเอาเปลือกนอกสีดำออกก่อน


ข้อห้ามใช้


คนที่มีอาการเจ็บคอ หรือไอมีเสมหะหรือเป็นแผลอักเสบจนมีหนองไม่ควรกินเนื้อของผลลำไย